คลังเก็บหมวดหมู่: สุขภาพ

ลดน้ำหนักแบบ IF อันตรายต่อสุขภาพไหม

ลดน้ำหนักแบบ IF อันตรายต่อสุขภาพไหม ใครไม่เหมาะใช้วิธีนี้บ้าง

การลดน้ำหนักด้วย IF อย่างไม่ถูกหลักการ หรือหักโหมเกินไปอาจให้โทษต่อร่างกายได้ และอันตรายไม่น้อย

ใครกำลังคิดจะลดน้ำหนักแบบ IF หรือกำลังทำอยู่แต่ไม่ค่อยเห็นผลเท่าไร หรืออาจมีอาการไม่สบายประปรายระหว่างทำ IF ด้วย อยากให้มาอ่านตรงนี้ก่อนค่ะว่า การลดน้ำหนักด้วย Intermittent Fasting มีหลักการอย่างไร และมีข้อควรระวังที่บางคนควรหลีกเลี่ยงไปใช้วิธีลดความอ้วนแบบอื่นไหม เพราะหากทำ IF อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เอาเป็นว่ามาเช็กให้ดี ๆ ไปพร้อมกันเลย

IF คืออะไร หลักการลดน้ำหนักมีอะไรบ้าง
การลดน้ำหนักด้วย IF หรือ Intermittent Fasting คือการกำหนดให้ร่างกายกินอาหารได้เพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่ง และปล่อยให้ร่างกายอดอาหารในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดน้ำตาล จะได้ดึงเอาไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายมาเป็นพลังงาน ซึ่งจะนำไปสู่การลดความอ้วนได้นั่นเอง

โดยหลักการของ Intermittent Fasting มีเงื่อนไขสำคัญอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ

1. ต้องงดอาหาร 1 มื้อในแต่ละวัน

2. หลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อดึก

3. กินอาหารตามปกติในช่วงเวลาไดเอต 8 ชั่วโมง

สุขภาพ-Healthy

อย่างไรก็ตาม รูปแบบการทำ IF ยังมีให้เลือกหลายแบบ เช่น

Lean gains หรือสูตร 16:8
IF แบบนี้จะกินอาหารใน 6-8 ชั่วโมง และอดอาหารเป็นเวลา 10-16 ชั่วโมง โดยทำเป็นประจำทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่คนจะนิยมทำสูตรนี้นะคะ

Fast 5
Intermittent Fasting ในรูปแบบ Fast 5 สำหรับสายโหดค่ะ เพราะจะมีช่วงเวลาของการกินอาหารเพียง 5 ชั่วโมง และอดอาหาร 19 ชั่วโมงต่อเนื่อง

Eat Stop Eat
การทำ IF ในรูปแบบนี้จะมีช่วงเวลาอดอาหารตลอดทั้งวันเป็นเวลา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดย 5 วันที่เหลือสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ

IF 5:2
รูปแบบการลดน้ำหนักจะคล้าย ๆ วิธีด้านบนค่ะ คือมีช่วงเวลาที่กินอาหารได้ตามปกติ 5 วัน แต่ต้องอดอาหาร 24 ชั่วโมงต่อเนื่องให้ได้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ทว่าสูตรนี้ไม่ถึงกับให้งดอาหารเลยทีเดียว เพราะวันที่ Fast เรายังสามารถกินอาหารแคลอรีต่ำ ประมาณ 500-1,000 กิโลแคลอรีต่อวันได้

วิธีลดน้ำหนัก Intermittent Fasting ADF (Alternate Day Fasting)

Intermittent Fasting ในรูปแบบ ADF คือการอดอาหารแบบวันเว้นวัน ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีค่อนข้างฮาร์ดคอร์เพราะต้องอดอาหาร 1 วัน กินอาหาร 1 วัน แล้วกลับมาอดอีก 1 วัน แต่ทั้งนี้ก็เหมือนกับ IF สูตร 5:2 ค่ะ เพราะในวันที่ Fast เราสามารถกินอาหารแคลอรีต่ำได้ แต่ต้องกินให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้นะ

The Warrior Diet
IF ในรูปแบบนี้มีนิยามว่า Fast during the day, eat a huge meal at night ซึ่งก็หมายความว่า ในช่วงกลางวันคือช่วงเวลาที่อดอาหาร ดื่มได้แต่น้ำเปล่า และมาจัดหนักในมื้อค่ำเพียงมื้อเดียวเท่านั้น

ลดน้ำหนักแบบ IF ใครไม่ควรทำบ้าง
แม้การลดน้ำหนักแบบ IF จะนิยมทำกันในวงกว้าง แต่ก็มีข้อจำกัดที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะในคนกลุ่มนี้

1. ผู้เป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะการอดอาหารอาจทำให้อาการที่เป็นอยู่กำเริบได้

2. ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน ที่ควรรับประทานอาหารเป็นเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อาการกำเริบ

3. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือผ่าตัดทางเดินอาหารอื่น ๆ เพราะโดยปกติจะรับประทานอาหารได้ไม่มากอยู่แล้ว หากอดอาหารไปอีกก็อาจขาดสารอาหาร และเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับพลังงานไม่เพียงพอ

4. ผู้ป่วยเบาหวาน เพราะในช่วงที่ฟาสติ้งอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เสี่ยงต่ออาการกำเริบได้

5. หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ที่ควรได้สารอาหารครบครัน

6. เด็กและวัยรุ่น ที่ควรได้สารอาหารครบครัน และเป็นวัยที่ใช้พลังงานมาก

7. ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ควรอดอาหาร

8. ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunodeficiencies)

9. ผู้ที่มีภาวะหรือเคยมีภาวะกินผิดปกติ (Eating disorders)

10. ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

11. ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บทางสมองมาก่อน หรือมีอาการไม่สบายจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน

12. ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือต้องกินยาบางอย่างสม่ำเสมอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำ IF